บริการวิชาการ

ฬิฏา สมบูรณ์และคณะ. (2566). โครงการพัฒนาศักยภาพในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก มหาวิทยาบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2566.

         ในวันที่ 19-20 กันยายน 2566 ในการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีโรงเรียนเข้าร่วม จำนวน 5 โรงเรียน และมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

   สะท้อนความคิด : โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลัง
โควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี พื้นที่รับผิดชอบ ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี นำทีมโดย ผศ.ดร.ฬิฏา สมบูรณ์ อาจารย์กรฎา สุขุม อาจารย์ทารินทร์ ปิ่นทอง ที่ร่วมพาน้องๆ ค้นหาจุดเด่นทรัพยากรในพื้นที่ คือ ต้นกระวาน จากปราชญ์ชาวบ้าน เกษตรกรที่ทำเป็นอาชีพ

     กระบวนการที่ผ่านการวิเคราะห์ร่วมกัน สรรพคุณของกระวาน ทำอะไรได้บ้าง ลำต้น  ดอก ผล ต้นอ่อน ซึ่งในชุมชนเลือก การทำเคอรี่พั๊ฟ ใส้กระวาน  ทำให้ทุกคนให้ความสนใจ และพัฒนาร่วมกัน จนถึงการจำหน่าย ทุกคนเข้าใจ ในกระบวนการ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ 

      ภาพแห่งความทรงจำ ที่ทุกคนตามหาแหล่ง การปลูกกระวาน ในอำเภอโป่งน้ำร้อน 

       กิจกรรม ร่วมแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชน ทอเสื่อบ้านท่าแฉลบ เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้ และเห็นความเข้มแข็งของชุมชนทอเสื่อ ในกระบวนการทำงาน  ความยั่งยืน (SDG)ที่เกิดจากนักท่องเที่ยวที่ได้แวะเวียน ร่วมเรียนรู้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอเสื่อบ้านท่าแฉลบ อย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้จากวิถีชุมชน จากการทำนา และช่วงว่าง ก็ดำกก ปลูกต้นกก เพื่อใช้ในการทอเสื่อ ในลวดลายต่างๆ ที่เกิดจากจินตนาการ และทักษะกระบวนการคิด และลงมือปฏิบัติ

ฬิฏา สมบูรณ์และคณะ. (2565). โครงการหนุนเสริมครูสู่ผู้เรียนด้วยการออกแบบกิจกรรมและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่โดยใช้บริบทท้องถิ่นเป็นฐาน ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก มหาวิทยาบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2565.

การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนของครู ที่มีการจัดอบรมที่เน้นทักษะ กระบวนการเรียนรู้ปฏิบัติจริง (Active Learning) เพื่อนำไปถ่ายทอดและเน้นกระบวนการเรียนการสอนกับผู้เรียนที่นำสิ่งที่มีอยู่รอบตัว โดยการสังเกต และเรียนรู้จากปัญหาใกล้ตัว วิเคราะห์ คัดเลือกปัญหา หาวิธีแก้ไขปัญหา โดยการสืบคืน คัดเลือก อย่างมีส่วนร่วมในกลุ่ม หาวิธีที่ดีที่สุดและนำไปทดลองใช้ และสรุปกิจกรรมร่วมกัน โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ได้แก่  โรงเรียนวัดทองทั่ว โรงเรียนขลุงรัชดา โรงเรียนแหลมสิงห์วิทยา โรงเรียนวัดโป่ง โรงเรียนพลิ้ว 

          ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการของคุณครูในวันที่สอง ลงมือปฏิบัติจริงโดยการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิด STEAM Education กระบวนการและวิธีการ คือ เชิญปราชญ์ชาวบ้าน เครือข่ายที่มีองค์ความรู้ในการดึงสีจากใบไม้ใกล้ตัว เรียกว่า Ecoprint วิทยากรเราคือคุณภาวนี ลายุก โดยให้คุณครูทุกคนทำการบ้านไปหาพืชพรรณที่ให้สี ลักษณะของใบไม้ ที่ให้สีได้ดี เพื่อเรียนรู้ร่วมกับวิทยากร
      ตอนท้ายมีการถอดบทเรียนของการจัดกิจกรรม โดยการนำเสนอแต่ละโรงเรียน เพื่อให้ทราบถึงแนวคิดของครู ความเข้าใจ และการนำไปใช้กับผู้เรียน

     การนำกระบวนการเรียนการสอนที่เน้น Active Learning ให้กับผู้เรียน ในระดับชั้นประถมศึกษาของโรงเรียนวัดทองทั่ว พบว่า
    1.ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ แยกแยะได้ เช่น สิ่งที่อยู่รอบตัว บริบทของโรงเรียน พืชแต่ละชนิดในโรงเรียน ที่บ้านมีพืชชนิดไหนให้สีได้บ้าง (เกิดสงสัย) และร่วมเรียนรู้กับคุณครูที่โรงเรียน สรรพคุณ และประโยชน์ของพืชแต่ละชนิด สืบค้น และวิเคราะห์ร่วมกัน
    2.ผู้เรียนสามารถอธิบาย STEAM ได้
    3.ผู้เรียนสนุก ภูมิใจกับการออกแบบกิจกรรม ความสำเร็จ และได้ประโยชน์จากการเรียนรู้ในชั้นเรียน ผ่านกระบวนการลงมือปฏิบัติ

ฬิฏา สมบูรณ์และคณะ. (2564). โครงการหนุนเสริมครูสู่ผู้เรียนด้วยการบูรณาการเรียนการสอนตามแนวคิด STEAM Education โดยใช้บริบทในท้องถิ่นเป็นฐาน ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก มหาวิทยาบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2564.

  โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้โรงเรียนมีโอกาสและเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ในปี 2564 ซึ่งโรงเรียนวัดทองทั่ว เป็น Best Practice ให้กับโรงเรียนที่เป็นเครือข่ายได้ดี และสามารถถ่ายทอดให้กับครูโรงเรียนในเครือข่ายได้ 

ฬิฏา สมบูรณ์และคณะ. (2563). โครงการยกระดับนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM Education ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก มหาวิทยาบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2563.

ฬิฏา สมบูรณ์และคณะ. (2562). โครงการหนุนเสริมครูสู่ผู้เรียนด้วยกระบวนชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) ด้วยการบูรณาการเรียนการสอนแบบ STEAM Education ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก มหาวิทยาบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2562.

ฬิฏา สมบูรณ์และคณะ. (2561).  โครงการหนุนเสริมครูสู่ผู้เรียนด้วยกระบวนชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)สู่กระบวนการเรียนการสอนด้วยโครงงาน (PjBL). ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น    โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก มหาวิทยาบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2561.

ฬิฏา สมบูรณ์และคณะ. (2560). โครงการพัฒนานวัตกรรมสู่กระบวนการเรียนการสอน “ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้” ขยายผลต่อยอดองค์ความรู้โดยใช้พื้นที่เกษตรเป็นฐาน. ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก มหาวิทยาบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2560.

  เผยแพร่ : กิจกรรมการเลี้ยงไข่ไก่   กิจกรรมเพาะเห็ดฟาง  กิจกรรมทำน้ำสมุนไพร 

ฬิฏา สมบูรณ์และคณะ. (2559). โครงการมีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมสู่กระบวนการเรียนการสอน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก มหาวิทยาบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2559.