บริการวิชาการ 2565
โครงการสร้างสรรค์ลายเสื่อกก
ลายรำไพจันทบูร สู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์
สร้างรายได้
ลายรำไพจันทบูร สู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์
สร้างรายได้
เสื่อกกของจังหวัดจันทบุรีนั้นเปรียบเสมือนเรื่องบอกเล่าเรื่องราวและวิถีชีวิตของชาวชนบท เสื่อกกจันทบุรีมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ในตัวเอง เสื่อกกจันทบุรีมีความเหนียวทนทานแข็งแรง เสื่อกกจันทบุรีมีความโดดเด่นด้วยฝีมือของผู้ทำและอีกหลาย ๆ ด้าน เสื่อกกของจันทบุรีแตกต่างกับเสื่อกกของที่อื่น เสื่อกกของจันบุรีเป็นงานหัตถกรรมในครัวเรือนที่มีความละเอียดอ่อนบ่งบอกถึงความสุขุมรอบคอบและผสมผสานกับลวดลายที่งดงามของศิลปะ บ่งบอกถึงความอ่อนโยนของจิตใจผู้ทอเสื่อ เสื่อกกจันทบุรีในอดีต จะรู้จักกันในชื่อของเสื่อจันทบูร เพราะ “จันทบูร” เป็นชื่อที่ชาวบ้านใช้เรียกจังหวัดจันทบุรี ดังเช่นรายงานวิจัยของ สุเทพ สุสาสนีและคณะ (2564) ที่ได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน กรณีศึกษางานทอเสื่อกกและงานจักสานด้วยคลุ้มในจังหวัดจันทบุรี และได้มีการพัฒนาต่อยอดขึ้นมาอีกระดับหนึ่งเพื่อพร้อมที่จะถ่ายทอดไว้ให้ลูกหลานต่อไปในอนาคต
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอเสื่อบ้านท่าแฉลบ อยู่เทศบาลตำบลบางกะจะ ของจังหวัดจันทบุรี ได้หลอมรวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มขึ้นมา จำนวน 35 คน เพื่อสืบทอดตำนานภูมิปัญญาการทอเสื่อกก ตามรอยของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งเริ่มจากการดำกก การจักกก การนำมาผึ่งแดด การย้อมกก และ การทอเสื่อกก ให้มีลวดลายแตกต่างกันออกไป แล้วนำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กระเป๋าถือ เสื่อรองจานต่างๆ เป็นต้น ทำให้ชุมชนมีรายได้ มีอาชีพ จนถึงทุกวันนี้ (Chantaboon 2518)
จากกระบวนการวิจัยของ ฬิฏา สมบูรณ์ และชุตาภา คุณสุข (2562) ที่ได้ทำการศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงประวัติศาสตร์บนพื้นฐานทรัพยากรชุมชนของเครือข่ายกลุ่มอยุธยา ซึ่งพบว่า นักท่องเที่ยวได้ให้ความสนใจวิถีชีวิตของชุมชน โดยเฉพาะ การทอเสื่อกกบ้านท่าแฉลบ ที่มีรูปแบบผลิตภัณฑ์และลวดลายเสื่อที่มีเอกลักษณ์ของชุมชนรวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการทอเสื่อกกในลวดลายง่ายๆ ให้กับนักท่องเที่ยว และแนวคิดของกลุ่มที่ต้องการสร้างลวดลายเสื่อ “ลายรำไพจันทบูร” ที่มอบให้กับคนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้และนำมาต่อยอดในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่อไป
ดังนั้น การให้บริการวิชาการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดงานวิจัยลวดลายเสื่อกก ลายรำไพจันทบูร พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายตามความต้องการของผู้บริโภค และสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์และความภูมิใจให้กับชุมชน โดยให้สมาชิกในกลุ่มมีส่วนร่วมในการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของท้องถิ่น และความต้องการของผู้บริโภคที่ให้ความสนใจและให้ข้อเสนอแนะที่ทันสมัยมากขึ้น ซึ่งมีจำนวนกลุ่มวิสาหกิจกรรมชุมชนทอเสื่อบ้านท่าแฉลบ จำนวน 35 คน ที่มีการสืบทอดตำนานการทอเสื่อกกของชุมชน
การจัดทำคลิปวิดิโอง่ายๆ https://youtu.be/X8zgODwYDyI
ในปี 2564-2565 โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง โดยมี รร.วัดทองทั่ว สพป จันทบุรี เขต 1 ได้เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง และเป็นโรงเรียนที่ได้นำแนวคิด STEAM Education มาบูรณาการในการเรียนการสอน โดยเน้น Active Learning เชื่อมโยงชุมชนในท้องถิ่น ผู้ปกครอง ปราชญ์ชาวบ้าน จนเกิดนวัตกรรมที่หลากหลายกับผู้เรียน ส่งผลให้ผลการเรียนของผู้เรียนดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง