New&Knowledge
ในวันที่ 10-11 ตุลาคม 2567 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา)
จังหวัดชลบุรี ได้เชิญให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฬิฏา สมบูรณ์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิวิพากษ์หลักสูตร ตามโครงการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนต้นแบบนำร่องสู่อาชีพในฝัน ซึ่งเป็นการวิพากษ์ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีเนื้อหาโครงสร้างของหลักสูตร สมบูรณ์ สอดคล้องกับความต้องการในภาวการณ์ในปัจจุบันโดยมีอาจารย์จากหลายมหาวิทยาลัยเข้าร่วมกันวิพากษ์หลักสูตร
ในครั้งนี้
ในวันที่ 27-28 กันยายน 2567 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 ได้จัดอบรมเชิงปฏิบติการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) ซึ่งมีวิทยากรคือ ผศ.ดร.ปริญญา ทองสอน, ผศ.ดร.ฬิฏา สมบูรณ์ และ ผอ.กาญจนา นิยมนา โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 7 โรงเรียนและสนใจอีก 4 โรงเรียน กลุ่มเป้าหมายคือ ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ซึ่งในการเข้าร่วมอบรมครั้งนี้ 60 คน เพื่อสร้างความเข้าใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567 ณ สพป.จันทบุรี เขต 2 ในชุดคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 2053/2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พร้อมกับโรงเรียนนำร่อง 7 โรงเรียน และโรงเรียนจะเข้าร่วมอีก 4 โรงเรียนในประเด็น
1)ประชุมชี้แจงให้ทราบในกระบวนการติดตาม นิเทศ หนุนเสริม ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ 2)พรบ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 3)หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในในสถานศึกษานำร่อง พ.ศ. 2564 และ 4)หลักเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนในสถานศึกษานำร่อง พ.ศ. 2564 โดยมี ผศ.ดร.ฬิฏา สมบูรณ์ คณะครุศาสตร์ มรภ.รำไพพรรณี เข้าร่วมในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในครั้งนี้
ในวันที่ 9-10 กันยายน 2567 ผศ.ดร.ฬิฏา สมบูรณ์ และผศ.ดร.ปริญญา ทองสอน ได้เข้าร่วมการประเมินผลในการพัฒนางานตามข้อตกลง (Performance Agreement : PA) ของผู้บริหารและครูในโรงเรียนขลุงรัชดาภิเษก จังหวัดจันทบุรี โดยมี ผอ.ปริยวิศว์ วงษ์จันทร์ เป็นประธานร่วมในการประเมินครั้งนี้
จากการศึกษาดูงานของ โรงเรียนมาบตะโกเอน จ.นครราชสีมา ในรูปแบบกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning ผสานกระบวนการ STEAM Education ของ โรงเรียนวัดทองทั่ว จ.จันทบุรี โดยมี ผอ.รัชนี บรรเทาวงศ์ และคณะครูขับเคลื่อนและพัฒนา เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2567 ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งมี ผศ.ดร.ฬิฏา สมบูรณ์ อ.ทารินทร์ ปิ่นทอง ผศ.เกศิณี ศิริสุนทรไพบูลย์ คณะครุศาสตร์ ได้ขับเคลื่อนและพัฒนาในครั้งนี้
sdgs.un.org/goals
จากการออกบูธ ที่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จันทบุรี เขต 1 ของโรงเรียนวัดทองทั่ว เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567 ซึ่งได้นำผลงานที่เกิดจากผู้เรียน และขับเคลื่อนโดย ผอ.และคุณครูในโรงเรียนร่วมกันออกแบบการพัฒนาทักษะอาชีพ น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา พัฒนาให้เกิดนวัตกรรมในโรงเรียนของรูปแบบกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning ผสานกระบวนการ STEAM Education ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งมี ผศ.ดร.ฬิฏา อ.ทารินทร์ ผศ.เกศิณี คณะครุศาสตร์ ได้ขับเคลื่อนและพัฒนาในครั้งนี้
sdgs.un.org/goals
จากการศึกษาดูงานของ สพป เพชรบูรณ์ ในรูปแบบกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning ผสานกระบวนการ STEAM Education ของ โรงเรียนวัดทองทั่ว จ.จันทบุรี เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2567 ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งมี ผศ.ดร.ฬิฏา อ.ทารินทร์ ผศ.เกศิณี คณะครุศาสตร์ ได้ขับเคลื่อนและพัฒนาในครั้งนี้
จากการศึกษาดูงานของโรงเรียนบ้านหนองสังข์ จ.สระแก้ว ในรูปแบบกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning ผสานกระบวนการ STEAM Education ของ โรงเรียนวัดทองทั่ว จ.จันทบุรี เมื่อวันที่ 28 มิย. 2567 ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งมี ผศ.ดร.ฬิฏา อ.ทารินทร์ ผศ.เกศิณี คณะครุศาสตร์ ได้ขับเคลื่อนและพัฒนาในครั้งนี้
sdgs.un.org/goals
ในวันที่ 28 สิงหาคม 2567 ได้ลงพื้นที่บ้านช้างทูน อ.บ่อไร่ จ.ตราด ในการบูรณาการเรียนการสอนในรายวิชาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ของสาขาวิชาภาษาอังกฤษภายใต้บริบทของพื้นที่ โดยการนำศักยภาพของชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีการจัดนิทรรศการนำเสนอในภาพรวมของพื้นที่ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษาควรได้ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) = Experience + Reflect & Discussion + Conceptualize + Apply
โดยใช้หลักการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมบนฐานวิถีชุมชน 4 ขั้นตอน 1)ขั้นประสบการณ์ 2)ขั้นถกคิด อภิปราย 3)ขั้นสรุปความคิด และ 4)ขั้นนำไปปรับใช้
Cr.โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน
ในการบูรณาการเรียนการสอนจากการลงพื้นที่จริง เก็บข้อมูลจริง และนำมาวิเคราะห์ในชั้นเรียน สู่การออกแบบกิจกรรมในชั้นเรียน และวัดผลและประเมินผลผู้เรียน โดยกระบวนการคือ ให้นักศึกษาลงพื้นที่เก็บข้อมูล (ตัวแทนที่ดี) ใช้เทคนิคเครื่องมือที่ใช้ในเวทีของ "Fa" ผ่านเรื่องเล่าเรื่อง (Story Telling) ผ่านสุนทรียสนทนา (Dialogue) แต่รูปแบบที่ใช้ในปัจจุบันคือ PL+World Cafe' + Design Thinking
Design Thinking Process:การคิดเชิงออกแบบ เป็นกระบวนการทำความเข้าใจปัญหา นำเสนอแนวทางแก้ไข แบบใหม่ที่ไม่เคยคิดมาก่อน 5 ขั้นตอน คือ 1)Empathize การสัมภาษณ์สังเกตทำความเข้าใจถามว่า "ทำไม ทำไม" 2)Define ปัญหาของผู้ใช้คือใคร ผู้ใช้ทำแบบนี้ทำไม 3)Ideate ระดมสมอง หาไอเดีย แบ่งปันไอเดีย คัด หรือรวมไอเดีย 4)Prototype ผู้ใช้ชอบจุดไหน จุดไหนต้องเปลี่ยน เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว และ 5)Test สร้างแบบจำลองเน้นความเร็ว และความเรียบง่าย
ในวันที่ 24 สิงหาคม 2567 ณ ตลาดโถรัตน์ ชุมชนขนมแปลก ต.หนองบัว อ.เมือง จ.จันทบุรี ซึ่งมีงานส่งเสริมกิจกรรมเชื่อมโยงช่องทางการตลาดอาหารปลอดภัย (Green food) ความแปลกใหม่ของชุมชน และวิถีความเป็นอยู่ โดยเฉพาะขนมแปลก ที่มีมายาวนานของชุมชน และอาหารทะเล การถนอมอาหาร การค้าขาย ที่ราคาไม่แพง ทำให้ตลาดหรือในชุมชนมีความยั่งยืน และอยู่ร่วมกันได้
การบูรณาการเรียนการสอนในวิชาสัมมนาของนักศึกษาปริญญาเอก สาขาบริหารการศึกษา ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพของชุมชนขนมแปลก ต.หนองบัว อ.เมือง จ.จันทบุรี ในวันที่ 24 สค. 2567นำโดย ผศ.ดร.ฬิฏา สมบูรณ์ ในประเด็น การบริหารจัดการเพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง (หลักการบริหาร) จุดเด่นของชุมชน และความยั่งยืนด้านการท่องเที่ยวของชุมชน
สรุปบทเรียน (Lesson Learned) "ความรู้ที่เป็นข้อค้นพบใหม่หรือบทสรุปที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์กระบวนการทำงาน" ประเด็น 1)บทเรียนจะอธิบายเหตุการณ์และเงื่อนไขที่เกิดขึ้น 2)บทเรียนจะมิใช่เพียงการเล่าเรื่องในอดีต แต่ต้องมีคำอธิบายที่มีคุณค่าที่จะนำไปปฏิบัติต่อ 3)บทเรียนจะช่วยไม่ให้กระทำผิดซ้ำ และ 4)เกิดการเรียนรู้
กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ คือการทำความเข้าใจสิ่งที่ปรากฏและศึกษาอย่างละเอียด ลึกซึ้งและเป็นองค์รวม (หา-เก็บ-ปรุง-กิน)
หา คือ การหาผู้เข้าร่วมการวิจัย
เก็บ คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ
ปรุง คือ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
กิน คือ การรายงานผลการวิจัยเชิงคุณภาพ
(ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์ 2554)
จากการจัดค่ายฝึกอบรมเสริมทักษะภาษาอังกฤษ English Camp สำหรับนักเรียนโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ จำนวน 141 คน ในวันที่ 15 สค. 2567 ณ โรงแรมหาดทรายทองรีสอร์ท อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
โดยมี ผศ.ดร.ฬิฏา สมบูรณ์ อ.ทารินทร์ ปิ่นทอง และ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 3 จำนวน 22 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ร่วมกันออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนในครั้งนี้
วันที่ 13 สิงหาคม 2567 ณ หอประชุมโรงเรียนบ้านแก้วที่เข้าร่วมโครงการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ให้สอดคล้องกับนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ โดยเน้นชุมชนเป็นฐาน โดยมี นายคมกริช อันทรง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแก้ว คณะครู นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และนักเรียน ที่เข้าร่วมการออกแบบกิจกรรมในครั้งนี้ จำนวน 250 คน และมีวิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา ทองสอน และคณาจารย์จากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีที่ให้ความรู้ในครั้งนี้
วันที่ 19 มิถุนายน 2567 ได้ร่วมกับหน่วยงาน สสส. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หน่วยจัดการ Node Flagship จังหวัดจันทบุรี และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลไกและขยายผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัด Node flagship จังหวัดจันทบุรี
วันที่ 10 ตุลาคม 2566 ร่วมแสดงความยินดีกับ ผอ.สพป จันทบุรี เขต 2 ดร.ณิชา เทียมสุวรรณ และปรึกษาหารือ ขับเคลื่อนพื้นที่การศึกษา ร่วมกับ ผอ.กลุ่มนิเทศก์ ติดตามฯ นางกาญจนา นิยมนา พร้อมด้วย ผศ.ดร.ฬิฏา สมบูรณ์ และ อาจารย์ทารินทร์ ปิ่นทอง ในครั้งนี้
วันที่ 6 ตุลาคม 2566 ในการประชุมผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรคณะครุศาสตร์ ครั้งที่ 2/2566 คณบดีครุศาสตร์ ผศ.ดร.วิวัฒน์ เพชรศรี ได้แสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.ฬิฏา สมบูรณ์ ที่ได้รับรางวัล ศาสตราจารย์บุญถิ่น อัตถากร อาจารย์ดีเด่นด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ประจำปี 2565
วันที่ 3 ตุลาคม 2566 เข้าพบอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไวกูณฑ์ ทองอร่าม เพื่อบันทึกภาพและรายงานผลการเข้ารับรางวัลของมูลนิธิศาสตราจารย์บุญถิ่น อัตถากร ซึ่งมี ผศ.ดร.ฬิฏา สมบูรณ์และอาจารย์ทารินทร์ ปิ่นทอง สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี pr.rbru.ac.th/web/news/id.php?NewsID=878
ภาพรวมรางวัลอาจารย์ดีเด่น ด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น (การพัฒนาชนบท) พศ. 2565 ของมูลนิธิศาสตราจารย์บุญถิ่น
อัตถากร ใน วันคล้ายวันสถาปนากรมการฝึกหัดครูและวันครบรอบการสถาปนาการฝึกหัดครูไทย ครบรอบ 131 ปี
วันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566 ณ อาคารสายสุทธานภดล และหอประชุมสุนันทานุสรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา www.youtube.com/watch?v=xCozgjogvns&t=202s
อีก 1 รางวัลที่ภาคภูมิใจ คือ รางวัลบุญถิ่น อัตถากร ประจำปีพุทธศักราช 2565 ของกลุ่มภาคกลาง คือ รางวัลดีเด่นการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น (การพัฒนาชนบท) ซึ่งมี รองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง กิจรัตน์ภร เป็นประธานมูลนิธิฯ ซึ่งทำพิธีมอบ ในงาน "วันคล้ายวันสถาปนากรมการฝึกหัดครูและการสถาปนาการฝึกหัดครูไทย ครบรอบ 131 ปี ในวันที่ 29 กันยายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
(ประกาศวันที่ 28 สิงหาคม 2566 : ประธานกรรมการมูลนิธิฯ)
ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 รายงานความก้าวหน้าตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกประจำปี 2565-2566 ณ มหาวิทยาลัยบูรพา อ.เมือง จ.ชลบุรี และโรงเรียนเมืองพัทยา 1 (เชิญ พิศลยบุตรราษฎร์บำเพ็ญ) อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ซึ่งมีมหาวิทยาลัยเครือข่าย 10 แห่ง ที่ได้ร่วมโครงการและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งในปี 2566 ได้จัดทำโครงการ การพัฒนาศักยภาพครู ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฬิฏา สมบูรณ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกศิณี ศิริสุนทรไพบูลย์ และอาจารย์ทารินทร์ ปิ่นทอง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
การบริการวิชาการ ให้กับโรงเรียนขลุงรัชดาภิเษก เป็นโรงเรียนเครือข่ายร่วมขับเคลื่อน ในโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ในวันที่ 7-8 กันยายน 2566
ในวันที่ 7 กันยายน 2566 นำโดย ผอ.ปริยวิศว์ วงษ์จันทร์ และคุณครูที่โรงเรียน ในการสร้างนวัตกรรมให้กับผู้เรียน โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน นำศาสตร์พระราชามาต่อยอดในโรงเรียน และถือเป็นโรงเรียนที่ได้นำกระบวนการ Active Learning มาใช้กับผู้เรียนโดยแท้จริง ซึ่งมีการติดตามผลที่เกิดขึ้นโดย ผศ.ดร.ปริญญาทองสอน และผศ.ดร.ฬิฏา สมบูรณ์ ซึ่งพบว่า กระบวนการควรเริ่มจาก...
เริ่มจากต้นน้ำ คือ สร้างทรัพย์สินที่เป็นทรัพยากรมีชีวิต เลี้ยงเป็ด ที่ให้ไข่เป็นอาหาร มูลเป็ด เศษอาหารที่มาจากอาหารกลางวัน เป็นปุ๋ยให้กับพืชผัก ในโรงเรียน มีการปลูกเมล่อน และนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเป็นระบบ และขยายพันธ์ต้นมะปี๊ด เลม่อน ทุเรียน การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชกินแมลง เนื้อเยื่อกระวานซึ่งเป็นสมุนไพรที่หาได้ยากแต่โรงเรียนทำได้สำเร็จ เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตมากขึ้น และมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ เหมาะในการสร้างทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อชีวิตและอาชีพ
ส่วนกลางน้ำที่เห็น คือกระบวนเรียนรู้ของผู้เรียน ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา สร้างกิจกรรม ให้เกิดนวัตกรรม สู่การเป็นนวัตกรของโรงเรียนได้เป็นอย่างดี
ส่วนปลายน้ำ (รอผลผลิตที่เกิดขึ้นในโรงเรียนเร็วๆ นี้)
ในวันที่ 13 กันยายน 2566 ในการประชุมคณะทำงาน Node Flagship จังหวัดจันทบุรี ซึ่งมี ผศ.ดร.ฬิฏา สมบูรณ์ และ ดร.เริงวิชญ์ นิลโคตร ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปผลการลงเตรียมพื้นที่และร่วมกำหนดแนวทางการลงทำ ARE ระดับโครงการย่อย และร่วมการจัดกิจกรรมในชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน
อีก 1 ความภาคภูมิใจ คือ รางวัลเพชรรำไพ สาขาวิจัย
การประดิษฐ์คิดค้นและงานสร้างสรรค์ ประกาศวันที่
16 ธค 2563